วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ลูกแรดเตรียมพร้อมล่าเหยื่อ

สรุปสิ่งที่ได้จากการเรียนเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพบริหารธุรกิจ
-ได้เรียนรู้ในหลายสิ่งที่เป็นประโยชน์ทั้งที่เกี่ยวกับวิชาที่เรียนและการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
- ได้ฝึกฝนตนเองให้เป็นคนมีระเบียบ ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบ อดทน
- ทำให้ได้เรียนร่วมกับผู้อื่นจำนวนมากทำให้มีมนุษย์สัมพันธ์ดี รู้จักเพื่อนเพิ่มขึ้น
- ทำให้ได้ทบทวนตำราเก่าที่เคยเรียนมาอย่างเช่น การคัดไทย ภาษาัอังกฤษ เป็นต้น
- ได้ทราบประวัติของมหาวิทยาลัยว่าเป็นมาอย่างไรจากการเรียน แผนผังมหาลัย

วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2552

Lecture 8 เรื่อง Sort

การเรียงลำดับ(Sorting) เป็นการจัดให้เป็นระเบียบมีแบบแผน ช่วยในการค้นหาสิ่งของหรือข้อมูลซึ่งจะสามารถจะกระทำได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
-การเรียงลำดับอย่างมีประสิทธิภาพมีหลักเกณฑ์ในการเลือกวิธีการเรียงลำดับทีดีและเหมาะสมกับระบบงานควรคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆดังนี้
1. เวลาและแรงงานที่ต้องใช้ไปในการเขียนโปรแกรม
2. เวลาที่เครื่องคอมพิวเตอร์ต้องใช้ในการทำงานตามโปรแกรมที่เขียน
3. จำนวนเนื้อที่ในหน่วยความจำหลักมีเพียงพอหรือไม่
-การเรียงลำดับสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1.การเรียงลำดับแบบภายใน(Internal Sorting)
เป็นการเรียงลำดับที่ข้อมูลทั้งหมดต้องอยู่ในหน่วยความจำหลัก
2.การเรียงลำดับแบบภายนอก(External Sorting)
เป็นการเรียงลำดับข้อมูลที่เก็บอยู่ในหน่วยความจำสำรอง ซึ่งเป็นการเรียงลำดับในแฟ้มข้อมูล(File)
มีวิธีการที่ใช้ในการเรียงลำดับดังนี้
-การเรียงลำดับแบบเลือก(Selection Sort)
-การเรียงลำดับแบบฟอง(Bubble Sort)
-การเรียงลำดับแบบเร็ว(Quick Sort)
-การเรียงลำดับแบบแทรก(Insertion Sort)
-การเรียงลำดับแบบฐาน(Radix Sort)

DTS 10-09-09-2552

สรุปการเรียนLecture 7 เรื่อง Graph

-กราฟเป็นโครงสร้างข้อมูลแบบไม่ใช่เชิงเส้นประกอบด้วยสิ่งสองสิ่งคือ
1. โหนด
2. เส้นเชื่อมที่เชื่อมระหว่างโหนดเรียกว่า เอ็จ
-กราฟที่มีเอดจ์เชื่อมระหว่างโหนดสองโหนดถ้าเอ็จไม่มีลำดับ ความสัมพันธ์จะเรียกกราฟนั้นว่า(กราฟแบบไม่มีทิศทาง)
-ถ้ากราฟนั้นมีเอ็จที่มีลำดับความสัมพันธ์หรือมีทิศทางกำกับด้วยเรียกกราฟนั้นว่า (กราฟแบบมีทิศทาง)
-การจัดเก็บเอ็จมีวิธีการจัดเก็บ 2 วิธีคือ
1.วิธีการเก็บเอ็จในแถวลำดับ 2 มิติ เป็นวิธีที่ง่ายและตรงไปตรงมา
2.วิธีเก็บโหนดและพอยน์เตอร์
-กราฟที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาอาจใช้วิธีแอดจาเซนซีลิสต์(Adjacency List) ซึ่งเป็นวิธีที่คล้ายวิธีจัดเก็บกราฟด้วยการเก็บโหนดและพอยน์เตอร์ แต่ต่างกันตรงที่ จะใช้ลิงค์ลิสต์แทนเพื่อความสะดวกในการเปลี่ยนแปลงแก้ไข
- วิธีแทนกราฟในความจำหลักอีกวิธีหนึ่งคือ การแทนด้วยแอดจาเซนซีเมทริกซ์ (Adjacency Matrix)
-การท่องไปในกราฟ คือกระบวนการเข้าไปเยือนโหนดในกราฟเทคนิคในการท่องไปในกราฟมี 2 แบบดังนี้
1. การท่องแบบกว้าง(Breadth First Traversal)
2.การท่องแบบลึก(Depth First Traversal)

DTS 09-02-09-2552