วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ลูกแรดเตรียมพร้อมล่าเหยื่อ

สรุปสิ่งที่ได้จากการเรียนเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพบริหารธุรกิจ
-ได้เรียนรู้ในหลายสิ่งที่เป็นประโยชน์ทั้งที่เกี่ยวกับวิชาที่เรียนและการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
- ได้ฝึกฝนตนเองให้เป็นคนมีระเบียบ ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบ อดทน
- ทำให้ได้เรียนร่วมกับผู้อื่นจำนวนมากทำให้มีมนุษย์สัมพันธ์ดี รู้จักเพื่อนเพิ่มขึ้น
- ทำให้ได้ทบทวนตำราเก่าที่เคยเรียนมาอย่างเช่น การคัดไทย ภาษาัอังกฤษ เป็นต้น
- ได้ทราบประวัติของมหาวิทยาลัยว่าเป็นมาอย่างไรจากการเรียน แผนผังมหาลัย

วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2552

Lecture 8 เรื่อง Sort

การเรียงลำดับ(Sorting) เป็นการจัดให้เป็นระเบียบมีแบบแผน ช่วยในการค้นหาสิ่งของหรือข้อมูลซึ่งจะสามารถจะกระทำได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
-การเรียงลำดับอย่างมีประสิทธิภาพมีหลักเกณฑ์ในการเลือกวิธีการเรียงลำดับทีดีและเหมาะสมกับระบบงานควรคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆดังนี้
1. เวลาและแรงงานที่ต้องใช้ไปในการเขียนโปรแกรม
2. เวลาที่เครื่องคอมพิวเตอร์ต้องใช้ในการทำงานตามโปรแกรมที่เขียน
3. จำนวนเนื้อที่ในหน่วยความจำหลักมีเพียงพอหรือไม่
-การเรียงลำดับสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1.การเรียงลำดับแบบภายใน(Internal Sorting)
เป็นการเรียงลำดับที่ข้อมูลทั้งหมดต้องอยู่ในหน่วยความจำหลัก
2.การเรียงลำดับแบบภายนอก(External Sorting)
เป็นการเรียงลำดับข้อมูลที่เก็บอยู่ในหน่วยความจำสำรอง ซึ่งเป็นการเรียงลำดับในแฟ้มข้อมูล(File)
มีวิธีการที่ใช้ในการเรียงลำดับดังนี้
-การเรียงลำดับแบบเลือก(Selection Sort)
-การเรียงลำดับแบบฟอง(Bubble Sort)
-การเรียงลำดับแบบเร็ว(Quick Sort)
-การเรียงลำดับแบบแทรก(Insertion Sort)
-การเรียงลำดับแบบฐาน(Radix Sort)

DTS 10-09-09-2552

สรุปการเรียนLecture 7 เรื่อง Graph

-กราฟเป็นโครงสร้างข้อมูลแบบไม่ใช่เชิงเส้นประกอบด้วยสิ่งสองสิ่งคือ
1. โหนด
2. เส้นเชื่อมที่เชื่อมระหว่างโหนดเรียกว่า เอ็จ
-กราฟที่มีเอดจ์เชื่อมระหว่างโหนดสองโหนดถ้าเอ็จไม่มีลำดับ ความสัมพันธ์จะเรียกกราฟนั้นว่า(กราฟแบบไม่มีทิศทาง)
-ถ้ากราฟนั้นมีเอ็จที่มีลำดับความสัมพันธ์หรือมีทิศทางกำกับด้วยเรียกกราฟนั้นว่า (กราฟแบบมีทิศทาง)
-การจัดเก็บเอ็จมีวิธีการจัดเก็บ 2 วิธีคือ
1.วิธีการเก็บเอ็จในแถวลำดับ 2 มิติ เป็นวิธีที่ง่ายและตรงไปตรงมา
2.วิธีเก็บโหนดและพอยน์เตอร์
-กราฟที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาอาจใช้วิธีแอดจาเซนซีลิสต์(Adjacency List) ซึ่งเป็นวิธีที่คล้ายวิธีจัดเก็บกราฟด้วยการเก็บโหนดและพอยน์เตอร์ แต่ต่างกันตรงที่ จะใช้ลิงค์ลิสต์แทนเพื่อความสะดวกในการเปลี่ยนแปลงแก้ไข
- วิธีแทนกราฟในความจำหลักอีกวิธีหนึ่งคือ การแทนด้วยแอดจาเซนซีเมทริกซ์ (Adjacency Matrix)
-การท่องไปในกราฟ คือกระบวนการเข้าไปเยือนโหนดในกราฟเทคนิคในการท่องไปในกราฟมี 2 แบบดังนี้
1. การท่องแบบกว้าง(Breadth First Traversal)
2.การท่องแบบลึก(Depth First Traversal)

DTS 09-02-09-2552

วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552

สรุปการเรียนLecture 6 เรื่องTree

Tree เป็นโครงสร้างข้อมูลที่ความสัมพันธ์ระหว่างโหนดจะมีความสัมพันธ์ลดหลั่นกันเป็นลำดับชั้นแต่ละโหนดจะมีความสัมพันธ์กับโหนดในระดับที่ต่ำลงมาหนึ่งระดับได้หลายๆโหนดเรียกโหนดดังกล่าวว่า โหนดแม่ โหนดที่อยู่ต่ำกว่าโหนดแม่อยู่หนึ่งระดับเรียกว่า โหนดลูก โหนดที่อยู่ในระดับสูงสุดและไม่มีโหนดแม่เรียกว่าโหนดราก
-โหนดที่มีโหนดแม่เป็นโหนดเดียวกัน เรียกว่าโหนดพี่น้อง
-โหนดทีไม่มีโหนดลูกจะเรียกว่าโหนดใบ
-เส้นเชื่อมแสดงความสัมพันธ์ระหว่างโหนดสองโหนดเรียกว่า กิ่ง
นิยามที่เกี่ยวข้องกับทรี
1. ฟอร์เรสต์ (Forest)หมายถึง กลุ่มของทรีที่เกิดจากการเอาโหนดรากของทรีออกหรือ เซตของทรีที่แยกจากกัน(Disjoint Trees)
2. ทรีที่มีแบบแผน (Ordered Tree)หมายถึง ทรีที่โหนดต่าง ๆในทรีนั้นมีความสัมพันธ์ที่แน่นอน เช่น ไปทางขวาไปทางซ้าย
3. ทรีคล้าย (Similar Tree) คือทรีที่มีโครงสร้างเหมือนกัน หรือทรีที่มีรูปร่างของทรีเหมือนกัน โดยไม่คำนึงถึงข้อมูลที่อยู่ในแต่ละโหนด
4. ทรีเหมือน (Equivalent Tree) คือทรีที่เหมือนกันโดยสมบูรณ์โดยต้องเป็นทรีที่ คล้ายกันและแต่ละโหนดในตำแหน่งเดียวกันมีข้อมูลเหมือนกัน
5. กำลัง (Degree) หมายถึงจำนวนทรีย่อยของโหนด นั้น ๆ
-โหนดที่ถูกเยือนอาจเป็นโหนดแม่ แทนด้วย N
-ทรีย่อยทางซ้าย แทนด้วย L
-ทรีย่อยทางขวา แทนด้วย R มีวิธีการท่องดังนี้
1. การท่องไปแบบพรีออร์เดอร์ เป็นการเดินเข้าไปเยือนโหนดต่าง ๆ ในทรีด้วยวิธี NLR หรือกลาง ซ้าย ขวา มีขั้นตอนการเดินดังนี้
1.1 เยือนโหนดราก
1.2 ท่องไปในทรีย่อยทางซ้ายแบบพรีออร์เดอร์
1.3 ท่องไปในทรีย่อยทางขวาแบบพรีออร์เดอร์
2 การท่องไปแบบอินออร์เดอร์ เป็นการเดินเข้าไปเยือนโหนดต่าง ๆ ในทรีด้วยวิธี LNR หรือ ซ้าย กลาง ขวา มีขั้นตอนดังนี้
2.1 ท่องไปในทรีย่อยทางซ้ายแบบอินออร์เดอร์
2.2 เยือนโหนดราก
2.3 ท่องไปในทรีย่อยทางขวาแบบอินออร์เดอร์
3. การท่องไปแบบโพสออร์เดอร์ เป็นการเดินเข้าไปเยือนโหนดต่าง ๆ ในทรีด้วยวิธี LRN หรือซ้าย ขวา กลาง มีขั้นตอนดังนี้
3.1 ท่องไปในทรีย่อยทางซ้ายแบบโพสออร์เดอร์
3.2 ท่องไปในทรีย่อยทางขวาแบบโพสออร์เดอร์
3.3 เยือนโหนดราก
-เอ็กซ์เพรสชันทรี (Expression Tree)
เป็นการนำเอาโครงสร้างของทรีไปใช้เก็บนิพจน์ทางคณิตศาสตร์โดยเป็นไบนารีทรี
-ได้รู้การแทนนิพจน์ในExpression Tree ตัวถูกดำเนินการจะอยู่ที่โหนดใบ ส่วนตัวดำเนินการจะเก็บที่โหนดกิ่งหรือโหนดที่ไม่ใช่โหนดใบ
-ได้ทราบว่าไบนารีเซิร์ชทรี(Binary Search Tree) ค่าของโหนดรากมีค่ามากกว่าค่าของทุกโหนดในทรีย่อยทางซ้าย และมีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับค่าของทุกโหนดในทรีย่อยทางขวา

DTS08-26-08-09

วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2552

สรุปการเรียน Lecture5 เรื่อง Queue

-ได้ทราบว่าคิวเป็นโครงสร้างข้อมูลแบบเชิงเส้นหรือลิเนียร์ลิสต์
-ได้รู้ว่าลักษณะการทำงานของคิวเป็นลักษณะของการเข้าก่อนออกก่อน
หรือเรียกว่าFIFO (First in First Out)
-ได้รู้ว่าการใส่สมาชิกตัวใหม่ลงในคิวเรียกว่า Enqueue
หมายถึงการใส่ข้อมูลNew Element ลงไปที่ส่วนเรียร์ของคิว
-ได้รู้ว่า การนำสมาชิกออกจากคิว เรียกว่า Dequeue
หมายถึงการนำออกจากส่วนหน้าของคิวและให้ข้อมูลนั้นกับ element
-ได้รู้การนำข้อมูลที่อยู่ตอนต้นของคิวมาแสดงเรียกว่า Queue Front แต่จะไม่ทำการเอาข้อมูลออกจากคิว
-การนำข้อมูลทีอยู่ตอนท้ายของคิวมาแสดงเรียกว่า Queue Rear แต่จะไม่ทำการเพิ่มข้อมูลเข้าไปในคิว
-ได้รู้ว่าการแทนที่ของคิวมี 2 วิธีคือ
1.การแทนที่ข้อมูลของคิวแบบลิงค์ลิสต์
2.การแทนที่ข้อมูลของคิวแบบอะเรย์
-ได้รู้ว่า การแทนที่ข้อมูลของคิวแบบลิงค์ลิสต์จะประกอบด้วย 2 ส่วนคือ
1.Head Node
2.Data Node
-ได้ทราบการดำเนินการเกี่ยวกับคิวว่ามีดังนี้คือ
1.Create Queue คือการจัดสรรหน่วยความจำให้แก่ Head Node และให้ค่า Pointer ทั้ง2ตัวมีค่าเป็น null
2. Enqueue คือการเพิ่มข้อมูลเข้าไปในคิว เปรียบเสมือนการ push ในแสตก
3.Dequeue คือ การนำข้อมูลออกจากคิว เปรียบเสมือนการ pop ในแสตก
4.Queue Front เป็นการนำข้อมูลทีอยู่ส่วนต้นของคิวมาแสดง
5.Queue Rear เป็นการนำข้อมูลทีอยู่ส่วนท้ายของคิวมาแสดง
6.Empty Queue คือเป็นการตรวจสอบว่าคิวว่างหรือไม่
7.Full Queue คือเป็นการตรวจสอบว่าคิวเต็มหรือไม่
8.Queue Count เป็นการนับจำนวนสมาชิกที่อยู่ในคิว
9.Destroy เป็นการลบข้อมูลทั้งหมดทีอยู่ในคิว
-ได้รู้ว่าการนำข้อมูลเข้าสู่คิว จะไม่สามาถนำเข้าในขณะที่คิวเต็มหรือไม่ว่าง ถ้าพยายามนำเข้าจะเกิดข้อผิดพลาดที่เรียกว่า Overflow
-ได้รู้ว่าการนำข้อมูลออกจากคิว จะไม่สามารถนำอะไรออกจากคิวที่ว่างเปล่าได้ ถ้าพยายามจะทำให้เกิดความผิดพลาดที่เรียกว่า Underflow
-วิธีการแก้ปัญหาในการนำเข้าข้อมูล จะใช้คิวที่เป็นแบบคิววงกลมซึ่งคิวช่องสุดท้ายนั้นต่อกับคิวช่องแรกสุด
-คิวแบบวงกลมคิวจะเต็มก็ต่อเมื่อมีการเพิ่มข้อมูลเข้าไปในคิวเรื่อย ๆจนกระทั่ง Rear มีค่าน้อยกว่า Frontอยู่ 1 ค่า คือ Rear = front -1
-การประยุกต์ใช้คิว เช่นการให้บริการลูกค้า ต้องวิเคราะห์จำนวนลูกค้าในคิวที่เหมาะสมว่าควรเป็นจำนวนเท่าใด

DTS-07-05-08-09

สแตกที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

1.การขึ้นลงรถตู้โดยสาร
2.ตั๋วรถเมล์

DTS-06-22-07-09

วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สรุปการเรียนเรื่อง Stack

-ได้ทราบว่าสแตก เป็นโครงสร้างข้อมูลแบบลิเนียร์ลิสต์ ที่มีคุณสมบัติที่ว่า การเพิ่มหรือลบข้อมูลในแสตก จะทำที่ปลายข้างเดียวกัน ที่เขาเรียกว่า Top ของแสตก
-ได้รู้ถึงลักษณะที่สำคัญของแสตก คือข้อมูลที่ใส่หลังสุดจะถูกนำออกมาจาก สแตกเป็นลำดับแรกสุด เรียกคุณสมบัตินี้ว่า LIFO (Last ln First Out)
-ได้ทราบว่าการดำเนินงานพื้นฐานของสแตก ว่าการทำงานต่าง ๆของสแตกจะกระทำที่ปลายข้างหนึ่งของสแตกเท่านั้น
-ได้รู้ว่าการทำงานของสแตกมี 3 กระบวนการคือ
1. Push คือการนำข้อมูลใส่ลงในสแตก
2. Pop คือการนำข้อมูลออกจากส่วนบนสุดของสแตก
3. Stack Top เป็นการคัดลอกข้อมูลที่อยู่บนสุดของสแตก แต่ไม่ได้นำเอาข้อมูลนั้นออกจากสแตก
-ได้ทราบถึงการแทนที่ข้อมูลของสแตก ว่าทำได้ 2วิธีนี้คือ
1. การแทนที่ข้อมูลของสแตกแบบลิงค์ลิสต์
2. การแทนที่ข้อมูลของสแตกแบบอะเรย์
-ได้ทราบว่าการแทนที่ข้อมูลของแสตกแบบลิงค์ลิสต์จะประกอบไปด้วย 2 ส่วนคือ
1. Head Node จะประกอบไปด้วย 2 ส่วนคือ Top pointer และจำนวนสมาชิกในสแตก
2. Data Node จะประกอบไปด้วยข้อมูล และ pointer ที่ชี้ไปยังข้อมูลตัวถัดไป

DTS05-22-07-09

สรุปการเรียน Lecture4 เรื่อง Linked List

-จากการที่ผมได้เรียนเรื่อง linked list นี้ได้รู้ว่า linked list นั้นเป็นวิธีการเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่องของ Element ต่าง ๆโดยมี pointer เป็นตัวเชื่อมต่อ
-และได้ทราบว่าแต่ละ Element ก็คือสมาชิกในกลุ่ม เรียกว่า โหนดซึ่งในแต่ละโหนดนั้นจะประกอบด้วย 2ส่วนคือ 1. Data
2. Link Field
-ผมได้รู้ว่าโครงสร้างข้อมูลแบบ linked list จะแบ่งเป็น 2ส่วนด้วยกันคือ
1. Head Structure จะประกอบด้วย 3ส่วน ได้แก่
1.จำนวนโหนดในลิสต์ก็คือ Count
2.pointer ที่ชี้ไปยังโหนดที่เข้าถึง ก็คือ Pos
3.pointer ที่ชี้ไปยังโหนดข้อมูลแรกของลิสต์
2.Data Node Structure
-ข้อมูลในโหนดแรกของลิสต์จะเป็น Null
-ได้รู้ linked list แบบซับซ้อนว่าเป็นแบบนี้คือ
1. Circular Linked List เป็นลิงค์ลิสต์ที่สมาชิกตัวสุดท้ายมีตัวชี้ List ชี้ไปที่สมาชิกตัวแรกของlinked list จะมีการทำงานไปในทิศทางเดียวเท่านั้น ก็คือเป็นแบบวงกลม
2. Double Linked List เป็น linked list ที่มีทิศทางการทำงานแบบ 2 ทิศทาง ในlinked list แบบ 2 ทิศทาง ส่วนข้อมูลจะมีตัวชี้ไปที่ข้อมูลก่อนหน้า backward pointer และตัวชี้ข้อมูลถัดไป forward pointer

DTS 04-22-07-09

วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การบ้าน แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 2

1.ให้นักศึกษากำหนดค่าของArray1มิติ และ Array2มิติ
arrray1มิติ int num[10]={2,4,6,8,10,12,14,16,18,20};
arrray2มิติint a[2][3] = {{1,2,3},{4,5,6}}

2.ให้นักศึกษาหาค่าของ A[2], A[6] จากค่า A={2,8,16,24,9,7,3,8}- A[2], A[6] = 16,3

3.จากค่าของ int a[2][3] = {{6,5,4},{3,2,1}};ให้นักศึกษา หาค่าของ a[1][0] และ a[0][2]- a[1][0] = 3- a[0][2] = 4

4.ให้นักศึกษากำหนด Structure ที่มีค่าของข้อมูลอย่างน้อย 6 Records
#include"stdio.h"
struct date
{
int day,month,year;
};
struct Student_information
{
float id;
char name[40];
struct date birthday;
float score;
}std;
void input_data()
{
printf("Student Data\n");
printf("ID = ");
scanf("%f",&std.id);
printf("Name : ");
scanf("%s",&std.name);
printf("Date of birth : ");
scanf("%d",&std.birthday.day);
printf("month of birth : ");
scanf("%d",&std.birthday.month);
printf("Year of birht : ");
scanf("%d",&std.birthday.year);
printf("Enter your Score : ");
scanf("%f",&std.score);
}
void show_data()
{
printf("\nDisplay Data of student \n");
printf("ID : %.0f\n",std.id);
printf("Name : %s\n",std.nam
printf("birthday : %d-%d-%d\n",std.birthday.day,std.birthday.month,std.birthday.year);
printf("Scare : %.2f\n",std.score);
}
main()
{
input_data();
show_data();
}

5.ให้นักศึกษาบอกความแตกต่างของการกำหนดตัวแปรชนิด Array กับตัวแปร Pointer ในสภาพของการกำหนดที่อยู่ของข้อมูล
การกำหนดที่อยู่ของ array จะเป็นการกำหนดแบบแยกประเภท เช่น integer, char, float แยกประเภทของข้อมูลว่าเป็น
ข้อมูลจำนวนเต็มบวก,ตัวเลขทศนิยม,ตัวอักษร
ส่วน pointerเป็นการสงค่าตัวแปรไปกลับระหว่างที่อยู่ของตัวแปรที่อยู่ในหน่วยความจำ

วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สรุปการเรียน Lecture2 เรื่อง Pointer

-ได้รู้ว่า pointer นั้นเป็นตัวแปรชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่เก็บตำแหน่งที่อยู่ ของตัวแปรในหน่วยความจำ
-ได้ทราบถึงเครื่องหมายที่ใช้ทำงานกับตัวแปร pointer
1.เครื่องหมาย & เป็นเครื่องหมายที่ใช้เครื่องเมื่อต้องการให้เอาค่าตำแหน่งที่อยู่ของตัวแปรที่เก็บไว้ในหน่วยความจำออกมาใช้
2.เครื่องหมาย * นั้นมีการใช้งาน 2 ลักษณะ คือ
2.1 ใช้ในการประกาศ parameter ว่าเป็นตัวแปรแบบ pointer
2.2 ใช้เป็น การอ้างอิง จะใช้เมื่อต้องการนำคาที่อยู่ในตำแหน่งที่ตัวแปร pointerนั้นชี้อยู่ออกมาแสดง
-ได้รู้ว่าการใช้ตัวแปร pointer and array ตัวแปร pointer จะใช้อ้างถึงค่าที่เก็บไว้ในตัวแปรชุดได้เช่นนี้

char str[80], *pl;
pl = str;


DTS 03- 01-07-09

วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การบ้าน structure

#include"stdio.h"
struct date
{
int day,month,year;
};
struct Student_information
{
float id;
char name[40];
struct date birthday;
float score;
int age;
char sex;
}std;
void input_data()
{
printf("Student Data\n");
printf("ID = ");
scanf("%f",&std.id);
printf("Name : ");
scanf("%s",&std.name);
printf("Date of birth : ");
scanf("%d",&std.birthday.day);
printf("month of birth : ");
scanf("%d",&std.birthday.month);
printf("Year of birht : ");
scanf("%d",&std.birthday.year);
printf("Enter your Score : ");
scanf("%f",&std.score);
printf("Enter your age : ");
scanf("%d",&std.age);
printf("Enter your sex : ");
scanf("%s",&std.sex);
}
void show_data()
{
printf("\nDisplay Data of student \n");
printf("ID : %.0f\n",std.id);
printf("Name : %s\n",std.name);
printf("birthday : %d-%d-%d\n",std.birthday.day,std.birthday.month,std.birthday.year);
printf("Scare : %.2f\n",std.score);
printf("age : %.d\n",std.age);
printf("age : %.s\n",std.sex);
}
main()
{
input_data();
show_data();
}

คลิปวิดีโอ

สรุปการเรียนLecture2 เรื่อง Array and Record

-การกำหนด subscript แต่ละตัวจะประกอบไปด้วย ค่าสูงสุดและค่าต่ำสุดของ subscript นั้น
-ได้รู้ว่าค่า subscript ที่ใช้อ้างอิงถึงสมาชิกจะต้องมีค่ามากกว่า หรือเท่ากับขอบเขตล่าง และน้อยกว่าหรือเท่ากับขอบเขตบน

-การกำหนดอะเรย์จะต้องกำหนดชื่ออะเรย์ พร้อม subscript ซึ่งเป็นตัวกำหนดขอบเขตของอะเรย์
-จำนวนสมาชิกหรือขนาดของอะเรย์ n มิติ หาได้จาก
ขนาดของอะเรย์ = ผลคูณของขนาดของ subscript แต่ละตัว
-ได้รู้วิธีการ input-process-output
- การจัดเก็บอะเรย์ในหน่วยความจำหลักจะใช้เนื้อที่ขนาดเท่ากันเพื่อเก็บสมาชิกแต่ละตัว โดยเนื้อที่จะเรียงต่อเนื่องกัน
-อะเรย์ 1มิติ
รูปแบบ data-type array-neme[expression]
-การส่งอะเรย์ให้ฟังก์ชั่นทำได้ 2 ลักษณะคือ
1. การกำหนด array element เป็นพารามิเตอร์ส่งค่าให้กับฟังก์ชั่น ทำได้โดยอ้างถึงชื่ออะเรย์พร้อมระบุ subscript
2. ส่งอะเรย์ทั้งชุดให้ฟังก์ชั่นทำได้โดยอ้างถึงชื่ออะเรย์โดยไม่มี subscript
อะเรย์ 2มิติ
รูปแบบ
type array-name[n] [m];

DTS 02-24-06-2552

ประวัติส่วนตัว

นายชาญชัย ควรมูล (ต๊อบ)
chanchai khuanmoon
รหัส 50152792057
หลักสูตร บริหารธุรกิจ(คอมพิวเตอร์ธุรกิจ)
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต
E-mail
u50152792057@gmail.com