-ได้ทราบว่าคิวเป็นโครงสร้างข้อมูลแบบเชิงเส้นหรือลิเนียร์ลิสต์
-ได้รู้ว่าลักษณะการทำงานของคิวเป็นลักษณะของการเข้าก่อนออกก่อน
หรือเรียกว่าFIFO (First in First Out)
-ได้รู้ว่าการใส่สมาชิกตัวใหม่ลงในคิวเรียกว่า Enqueue
หมายถึงการใส่ข้อมูลNew Element ลงไปที่ส่วนเรียร์ของคิว
-ได้รู้ว่า การนำสมาชิกออกจากคิว เรียกว่า Dequeue
หมายถึงการนำออกจากส่วนหน้าของคิวและให้ข้อมูลนั้นกับ element
-ได้รู้การนำข้อมูลที่อยู่ตอนต้นของคิวมาแสดงเรียกว่า Queue Front แต่จะไม่ทำการเอาข้อมูลออกจากคิว
-การนำข้อมูลทีอยู่ตอนท้ายของคิวมาแสดงเรียกว่า Queue Rear แต่จะไม่ทำการเพิ่มข้อมูลเข้าไปในคิว
-ได้รู้ว่าการแทนที่ของคิวมี 2 วิธีคือ
1.การแทนที่ข้อมูลของคิวแบบลิงค์ลิสต์
2.การแทนที่ข้อมูลของคิวแบบอะเรย์
-ได้รู้ว่า การแทนที่ข้อมูลของคิวแบบลิงค์ลิสต์จะประกอบด้วย 2 ส่วนคือ
1.Head Node
2.Data Node
-ได้ทราบการดำเนินการเกี่ยวกับคิวว่ามีดังนี้คือ
1.Create Queue คือการจัดสรรหน่วยความจำให้แก่ Head Node และให้ค่า Pointer ทั้ง2ตัวมีค่าเป็น null
2. Enqueue คือการเพิ่มข้อมูลเข้าไปในคิว เปรียบเสมือนการ push ในแสตก
3.Dequeue คือ การนำข้อมูลออกจากคิว เปรียบเสมือนการ pop ในแสตก
4.Queue Front เป็นการนำข้อมูลทีอยู่ส่วนต้นของคิวมาแสดง
5.Queue Rear เป็นการนำข้อมูลทีอยู่ส่วนท้ายของคิวมาแสดง
6.Empty Queue คือเป็นการตรวจสอบว่าคิวว่างหรือไม่
7.Full Queue คือเป็นการตรวจสอบว่าคิวเต็มหรือไม่
8.Queue Count เป็นการนับจำนวนสมาชิกที่อยู่ในคิว
9.Destroy เป็นการลบข้อมูลทั้งหมดทีอยู่ในคิว
-ได้รู้ว่าการนำข้อมูลเข้าสู่คิว จะไม่สามาถนำเข้าในขณะที่คิวเต็มหรือไม่ว่าง ถ้าพยายามนำเข้าจะเกิดข้อผิดพลาดที่เรียกว่า Overflow
-ได้รู้ว่าการนำข้อมูลออกจากคิว จะไม่สามารถนำอะไรออกจากคิวที่ว่างเปล่าได้ ถ้าพยายามจะทำให้เกิดความผิดพลาดที่เรียกว่า Underflow
-วิธีการแก้ปัญหาในการนำเข้าข้อมูล จะใช้คิวที่เป็นแบบคิววงกลมซึ่งคิวช่องสุดท้ายนั้นต่อกับคิวช่องแรกสุด
-คิวแบบวงกลมคิวจะเต็มก็ต่อเมื่อมีการเพิ่มข้อมูลเข้าไปในคิวเรื่อย ๆจนกระทั่ง Rear มีค่าน้อยกว่า Frontอยู่ 1 ค่า คือ Rear = front -1
-การประยุกต์ใช้คิว เช่นการให้บริการลูกค้า ต้องวิเคราะห์จำนวนลูกค้าในคิวที่เหมาะสมว่าควรเป็นจำนวนเท่าใด
DTS-07-05-08-09
วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)